หลักการแก้ปัญหา เรื่องความร้อนในโรงงาน  2 ข้อ ง่ายๆ
เคล็ดลับน่ารู้

หลักการแก้ปัญหา เรื่องความร้อนในโรงงาน 2 ข้อ ง่ายๆ

2.7K

25 พฤษภาคม 2567

แก้ปัญหาโรงงานร้อนอบอ้าว ด้วยฉนวนกันความร้อน เอสซีจี

        ปัจจุบันค่าดัชนีความร้อนสูงขึ้นทุกวัน จนทะลุเกิน 50 ไปแล้วหลายพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และการทำงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรงงาอุตหสากรรม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ  เพราะมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงานโดยตรง  ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าการติดพัดลมระบายอากาศ หรือ เครื่องปรับอากาศภายในโรงงานจะช่วยแก้ไขได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากไม่ได้เข้าใจวิธีการลดอุณหภูมิความร้อนอย่างถ่องแท้แล้ว  การเพิ่มจุดติดพัดลมระบายอากาศ หรือเปิดเครื่องปรับอากาศเพียงอย่างเดียว ก็อาจกลายเป็นยิ่งทำให้เพิ่มปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา ที่แน่นอนก็คือ ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ​​​​​​​

หลักการสำคัญของการแก้ไขปัญหาโรงงานร้อนนั้น มีด้วยกัน 2 ข้อง่ายๆ ดังต่อไปนี้

        1.ป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวโรงงาน
ความร้อนจากดวงอาทิตย์ คือต้นเหตุความร้อนสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิความร้อนในโรงงานพุ่งสูงขึ้น จนกระทบต่อการทำงานของทั้งเครื่องจักร และพนักงานในโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะสะสมผ่านมาทางหลังคาซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และรับแสงแดดเป็นเวลายาวนานตลอดทั้งวัน

นอกจากนั้น ความร้อนจากภายนอกก็ยังทะลุผ่านมาได้ตามผนังโรงงานอีกด้วย ดังนั้นเอง ถ้าต้องการให้โรงงานเย็นลง หัวใจสำคัญอันดับแรกคือ ต้องป้องกัน หรือ ลดปริมาณความร้อนจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ตัวโรงงานได้ก่อน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ “ฉนวนกันความร้อน”

ซึ่งติดตั้งได้ในหลายๆ จุดสำคัญ อาทิ ฉนวนกันความร้อน SCG สำหรับหลังคา กันความร้อนจากหลังคาไม่ให้ทะลุผ่านเข้ามายังตัวโรงงานง่ายๆ ฉนวนกันความร้อน SCG สำหรับผนัง เพื่อเสริมให้ผนังโรงงานมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนออกไป

นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีฉนวนกันความร้อนสำหรับระบบปรับอากาศในโรงงาน ฉนวนกันความร้อนทนอุณหภูมิสูง สำหรับห่อหุ้มตัวเครื่องจักร ไม่ให้แพร่กระจายความร้อนออกมาภายในตัวอาคาร ฯลฯ

​​​​​​​ซึ่งยิ่งเราป้องกันความร้อนจากแหล่งกำเนิดสำคัญไม่ให้เข้าสู่ตัวอาคารโรงงานได้มากเท่าไร ก็จะทำให้โรงงานร้อนน้อยลงได้มากเท่านั้น

รูปฉนวนกันความร้อน สำหรับหลังคา รุ่น  CRB ติดฟอยล์ 2 ด้าน

รูปการติดฉนวนดันความร้อน บริเวณใต้หลังคาเมทัลชีท เพื่อช่วยลดอุณหภูมิ ภายในโรงงาน

รูปการติดตั้งฉนวนกันความร้อน สำหรับระบบปรับอากาศ ภายในโรงงาน

2.ระบายความร้อนออกจากโรงงาน

        นอกจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ภายนอกที่ทะลุผ่านเข้ามาสะสมในโรงงานแล้ว ภายในโรงงานเองก็ยังมีเครื่องจักร เครื่องปรับอากาศ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ปล่อยพลังงานความร้อนเข้ามาสะสมด้วยอีกทางหนึ่ง
        ซึ่งแม้เราจะติดตั้งฉนวนกันความร้อนในจุดสำคัญต่างๆ แล้ว แต่ก็ยังคงมีความร้อนหมุนเวียนอยู่ในโรงงาน ดังนั้น เพื่อให้เกิดบรรยากาศของความเย็นที่แท้จริง “การระบายความร้อน” ออกจากโรงงานจึงเป็นสิ่งที่ควรทำควบคู่กันไปด้วย
        ซึ่งสามารถทำได้โดย การสร้างช่องระบายอากาศ การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ แต่อย่างไรก็ตาม การระบายความร้อนออกจากโรงงานจะทำได้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบตำแหน่งช่องระบายอากาศที่เป็นไปตามทิศทางลมที่ถูกต้องการวางผังห้องต่างๆ ในโรงงาน
การจัดวางเครื่องจักรและอุปกรณ์สำคัญ ต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ขวางทางลม เพราะหากไม่มีการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ภายในโรงงานให้ดการระบายความร้อนในพื้นที่โรงงานก็จะติดขัด ไม่มีประสิทธิภาพ และกลายเป็นก่อให้เกิดการหมุนเวียนของความร้อนที่วนอยู่ในตัวอาคาร และทำให้อากาศร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

รูปการติดตั้งพัดลมระบายอากาศ  ช่วยระบายความร้อนภายในโรงงาน

การแก้ไขปัญหาโรงงานร้อนอบอ้าว ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานได้อย่างราบรื่น ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ความร้อนที่ลดลงยังช่วยทำให้เครื่องจักร เครื่องปรับอากาศ ทำงานน้อยลง

        ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ไม่ต้องสูญเสียค่าซ่อมบำรุงเยอะ ในขณะเดียวกันก็เป็นการประหยัดพลังงาน ลดภาระค่าไฟได้โดยตรงอีกด้วย
จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ที่จะแก้ไขปัญหาโรงงานร้อน ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ควบคู่กับการจัดการระบบระบายอากาศภายในโรงงานให้ดี
โดยสำหรับใครที่สนใจแก้ปัญหาความร้อนในโรงงาน หรือต้องการคำแนะนำเรื่องการติดตั้งฉนวนกันความร้อน

​​​​​​​สามารถปรึกษา
SCG  home Contact center 02-5862222



แท็กที่เกี่ยวข้อง