3 แนวทางต่อเติมครัวไทย ครัวแบบไหนเหมาะกับคุณ
รอบรู้เรื่องบ้าน

3 แนวทางต่อเติมครัวไทย ครัวแบบไหนเหมาะกับคุณ

4K

10 พฤษภาคม 2567

3 แนวทางต่อเติมครัวไทย ครัวแบบไหนเหมาะกับคุณ


ต่อเติมครัวไทย

          ใครที่มีครัวสวย แต่ไม่ค่อยได้ใช้บ้างครับ ที่ตั้งคำถามนี้เพราะเชื่อว่า มีเจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบการทำอาหาร และมีภาพในจินตนาการว่าจะมีครัวสวยที่มีฟังก์ชันครบครัน แต่เมื่อบ้านสร้างเสร็จแล้วได้ลองลงมือใช้งานจริง ๆ กลับเห็นถึงข้อจำกัดบางอย่างของห้องครัวที่มี โดยเฉพาะปัญหาคราบน้ำมันที่ยากจะทำความสะอาด ปัญหากลิ่นฉุนที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน ทำให้รู้สึกไม่กล้าใช้ครัวอย่างเต็มที่ หลายบ้านจึงนิยมต่อเติมครัวไทยภายหลังเพื่อให้รองรับการใช้งานหนักได้อย่างสะดวกมากขึ้น
          สำหรับคนที่ต้องการต่อเติมครัวไทย แต่ยังตัดสินใจได้ได้ว่าควรต่อเติมครัวในรูปแบบไหนดี เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” ขอแนะนำแนวทางในการเลือกต่อเติมครัวไทย รวมถึงข้อดี ข้อเสีย เพื่อให้เจ้าของบ้านได้เลือกครัวแบบที่ตอบโจทย์วิถีชีวิต พร้อมกับแนะนำวัสดุหลังคาที่ช่วยให้งานต่อเติมเป็นเรื่องง่ายมาให้ทำความรู้จักครับ



          สนับสนุนโดย : SCG Building Materials


1.ครัวไทยแบบเปิด

          ครัวไทยลักษณะนี้ มักต่อเติมหลังคาออกไปจากหลังบ้านหรือข้างบ้าน โดยไม่มีการก่อผนังเพิ่มเติม นับเป็นรูปแบบการต่อเติมที่ง่ายและประหยัดงบที่สุด เนื่องด้วยไม่มีการก่อผนังให้ยุ่งยาก เมื่อผนังเปิดโปร่งรอบด้านจึงระบายอากาศได้ตามธรรมชาติ ลดความชื้นได้ดี ไม่ต้องติดเครื่องดูดควันหรือพัดลมดูดอากาศ ไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่น ควัน และความร้อนสะสมในบ้าน เหมาะกับคนที่เน้นทำอาหารไทย เมนูหนัก ๆ อย่างเมนูผัดต่าง ๆ
          แม้จะเป็นรูปแบบครัวที่ง่ายที่สุดแต่ก็มีจุดที่ต้องระวัง เพราะการเปิดโดยรอบก็ย่อมเท่ากับว่ากลิ่นและควันอาจส่งผลกระทบกับเพื่อนบ้านได้ ทั้งยังง่ายต่อการรับสิ่งรบกวนจากภายนอกเช่นกัน อาทิ ฝุ่นผง ฝูงยุง สัตว์และแมลงมาไต่ตอม รวมทั้งแสงแดดและฝนที่อาจสาดเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ทำครัว เครื่องปรุงของใช้  จึงควรมีที่จัดเก็บที่มีหน้าบานปิดมิดชิดและเสริมกันสาดในบางจุด และจะต้องจัดเก็บให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ


2.ครัวไทยแบบปิด

          สำหรับครัวไทยแบบปิด นอกจากต่อเติมหลังคาออกมาแล้ว ยังมีการก่อผนังกั้นเป็นสัดส่วน ซึ่งมักพบเห็นได้ในครัวหลังบ้านทาวน์โฮมหรือทาวน์เฮ้าส์ หรือหากเป็นบ้านที่สร้างบนที่ดินส่วนตัว สามารถต่อเติมเป็นห้องครัวแยกหลังได้เลย ข้อดีของการต่อเติมครัวไทยแบบนี้ ทำให้มีความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน สามารถที่จะต้ม ผัด แกง ทอด ปิ้ง ทำอาหารกลิ่นฉุนหรือมีควันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องคอยวิตกว่าการทำอาหารหนัก ๆ จะรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง อีกทั้งไม่มีแมลงหรือยุงรบกวน ไม่ต้องกังวลเรื่องภูมิอากาศไม่ว่าจะแดดหรือฝน



          ส่วนข้อควรระวังที่ต้องในการทำครัวไทยแบบปิด คือ การระบายอากาศตามธรรมชาติ ซึ่งทำได้ยากกว่าครัวรูปแบบเปิด ดังนั้นอาจต้องเพิ่มอุปกรณ์เสริม เช่น ติดตั้งพัดลมดูดกลิ่นระบายอากาศหรือติดตั้งเครื่องดูดควัน และด้วยผนังที่ค่อนข้างปิดทึบ ย่อมทำให้ภายในได้รับแสงสว่างน้อย ผลที่ตามมาคือครัวจะมืด อับ ชื้น จึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีหน้าต่าง 2 ด้าน เพื่อให้เกิดกลไกการระบายอากาศอย่างสมบูรณ์ 


3.ครัวไทยกึ่งเปิด กึ่งปิด

          ครัวไทยรูปแบบสุดท้ายเป็นส่วนผสมระหว่าง 2 แบบที่กล่าวมาข้างต้น คือ มีส่วนที่ปิดและส่วนที่เปิดตามความเหมาะสม โดยมักนิยมใช้วัสดุที่มีช่องว่างเป็นตัวช่วย เพื่อให้แสงและลมยังผ่านเข้าได้ เช่น ระแนง บล็อกช่องลม ข้อดีของการทำครัวกึ่งเปิด กึ่งปิด ขณะใช้งานจะไม่รู้สึกว่าถูกปิดกั้นจนเกินไป กลิ่นและควันจากการทำอาหารสามารถระบายได้ดี ที่สำคัญคือมีส่วนที่ช่วยพรางตา ทำให้ทำอาหารได้อย่างเป็นส่วนตัวอีกด้วย
          ทั้งนี้การต่อเติมครัวไทยทุกรูปแบบ ต้องมีการเว้นระยะร่นให้ถูกตามกฎหมายต่อเติม ซึ่งพรบ.ควบคุมอาคารกำหนดไว้ว่า หากผนังส่วนใดมีช่องแสง ช่องเปิด ให้เว้นระยะร่น 2 เมตรขึ้นไป แต่หากเป็นผนังปิดทึบ สามารถชิดขอบเขตที่ดินได้ 50 เซนติเมตร ในกรณีที่ต้องการต่อเติมห้องแบบชิดขอบรั้ว เจ้าของบ้านต้องแจ้งเพื่อนบ้านที่ดินใกล้เคียง และต้องมีการเซ็นยินยอมก่อนครับ มิเช่นนั้นจะมีความผิดตาม พรบ.ควบคุมอาคารจนต้องรื้อในภายหลังได้ครับ



วัสดุหลังคาที่เหมาะกับต่อเติมครัวไทย

          ปัญหาที่พบจากต่อเติมครัวไทยไม่น้อย คือ ปัญหาครัวทรุดเอียง ผนังมีรอยร้าวหรือฉีกออกจากโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งปัญหาเหล่านี้มาจากหลายสาเหตุ อาทิ การเชื่อมยึดส่วนต่อเติมเข้ากับตัวบ้านโดยฝากไว้กับอาคารเดิม ไม่ได้แยกโครงสร้างส่วนของต่อเติม หรือส่วนต่อเติมมีน้ำหนักมาก จึงเกิดการดึงรั้งให้ผนังและหลังคาแยกออกจากตัวบ้าน วิธีการแก้ไขนอกจากต้องแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมออกจากบ้านโครงสร้างหลักของบ้านแล้ว ยังควรต้องเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นภาระกับโครงสร้าง โดยเฉพาะงานหลังคาซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยปกป้องแสงแดดและฝน



          หลังคาเมทัลชีท จึงเป็นวัสดุที่บ้านยุคนี้นิยมมาใช้ในงานต่อเติม เพราะไม่เพียงแค่ตอบโจทย์เรื่องน้ำหนักเบา ยังติดตั้งง่ายและมีปัญหาการรั่วซึมน้อยอีกด้วย แต่สิ่งที่มักมาพร้อมกับวัสดุเมทัลชีท ก็คือเสียงที่ดังและความร้อน การเลือกใช้เมทัลชีทให้มีปัญหาเรื่องเสียง เรื่องความร้อนน้อยที่สุด นอกจากเลือกใช้เมทัลชีทเกรดคุณภาพ มีความหนามากกว่า 0.30 มม.ขึ้นไปแล้ว ควรเลือกเมทัลชีทที่มีเทคโนโลยีช่วยลดเสียงและความร้อนในตัวด้วย อย่าง หลังคา เอสซีจี เมทัลรูฟ ลอน SSR 760 – NoiseTECH



คุณสมบัติเด่นของหลังคา เอสซีจี เมทัลรูฟ

          ลอน SSR 760 – NoiseTECH  ผลิตด้วยเหล็กมาตฐาน JIS ขึ้นรูปเป็นลอนสวยงาม มาพร้อมเทคโนโลยี Noise TECH เอกสิทธิ์เฉพาะจาก เอสซีจี โดยมีการเคลือบสีคุณภาพสูง  สามารถช่วยลดเสียงฝนตกกระทบได้ดีกว่าเมทัลชีททั่วไปถึง 5 เดซิเบล และลดลงถึง 2 เดซิเบล เมื่อเทียบกับแผ่นทั่วไปที่ติดตั้งพร้อมฉนวน PE 5 มม.  
ส่วนปัญหาเรื่องความร้อนก็ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวล ด้วยความหนา 0.50 มม. สามารถป้องกันความร้อนได้โดยไม่ต้องติดฉนวน PE  ทั้งยังหมดปัญหาเรื่อง PE หลุดในภายหลังอีกด้วย  โดยมีความยาวให้เลือก 3 ขนาด
          •    ความยาว 1.5 เมตร 
          •    ความยาว 3.2 เมตร  (ความยาวมาตรฐานแนะนำสำหรับงานต่อเติม)
          •    ความยาว 6.2 เมตร 
น้ำหนักที่เบากว่าเมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น และขนาดแผ่นที่เป็นขนาดมาตฐาน ทำให้ง่ายต่องานต่อเติมและช่วยประหยัดงบค่าโครงสร้าง


 

          นอกจากนี้หลังคา เอสซีจี เมทัลรูฟ ลอน SSR 760 – NoiseTECH ยังครบครันด้วยครอบมาตรฐาน ตอบโจทย์บ้านทุกสไตล์โดยมีให้เลือก 6 เฉดสี  ได้แก่ Black Mica, Charcoal Gray , White Pearl , Ocean Blue, Terracotta และ Mocha กรณีต่อเติมหลังคาใหม่ จึงสามารถเลือกโทนสีที่ใกล้เคียงกับหลังคาเดิมได้ง่าย พร้อมรับประกันสีสวยยาวนาน 12 ปี*

*การรับประกันการไม่ซีดจางของสี ตามระดับความแตกต่างของสี หรือค่า Delta E ที่ไม่เกิน 30 (Delta E Unit <30) อ้างอิงตาม CIE Lab 2000 และ ASTMD 2244

​​​​​​​เลือกรูปแบบครัวไทยที่ชอบแล้ว อย่าลืมพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ในการต่อเติมให้รอบคอบก่อนด้วยนะครับ ครัวนอกบ้านจะได้สวย ทน ใช้งานได้ยาวนาน ผู้อ่านท่านใดอยากทราบรายละเอียดของหลังคา เอสซีจี เมทัลรูฟ ลอน SSR 760 – NoiseTECH เพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่  หลังคา เอสซีจี เมทัลรูฟ ลอน SSR 760 – NoiseTECH


ขอบคุณบทความดีๆจาก บ้านไอเดีย


แท็กที่เกี่ยวข้อง