ทำความรู้จัก fitwel มาตรฐานอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี
รอบรู้เรื่องบ้าน

ทำความรู้จัก fitwel มาตรฐานอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี

6.4K

18 พฤษภาคม 2567

ทำความรู้จัก fitwel มาตรฐานอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี

        มาตรฐาน fitwel ริเริ่มโดย กรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) และดำเนินการโดย Center for Active Design (CfAD) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจประเมินและจัดอันดับอาคารเพื่อคุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน ด้วยเป้าหมายให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงแค่ส่งผลกับสุขภาพของบุคคล แต่ยังมีผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์จากประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มที่ และค่าใช้จ่ายในการดูแลความเจ็บป่วยในองค์กร

        มาตรฐาน fitwel ริเริ่มโดย กรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) และดำเนินการโดย Center for Active Design (CfAD) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจประเมินและจัดอันดับอาคารเพื่อคุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน ด้วยเป้าหมายให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงแค่ส่งผลกับสุขภาพของบุคคล แต่ยังมีผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์จากประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มที่ และค่าใช้จ่ายในการดูแลความเจ็บป่วยในองค์กร

1. การส่งเสริมกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Activity)
        จากงานวิจัยของสหรัฐอเมริกา พนักงานใช้เวลาทำงานอยู่ในสำนักงานมากกว่า 1,700 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งการใช้เวลานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง มาตรฐาน Fitwel จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่ม Physical Activity โดยมีมาตรการหลายข้อที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น 
        • สนับสนุนการใช้รถโดยสารสาธารณะ 
        • ออกแบบเพื่อสนับสนุนการใช้บันไดให้มากกว่าลิฟต์โดยสาร 
        • เพิ่มการเข้าถึงอุปกรณ์ออกกำลังกายทั้งในร่มและกลางแจ้ง
        เพื่อลดอาการเจ็บป่วยและสร้างสุขภาพที่ดีของผู้ใช้อาคาร ซึ่งจะสามารถลดความสูญเสียทั้งในด้านของบุคลากร และด้านเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้

2. ผู้ใช้งานมีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ อาชญากรรม และการติดเชื้อ (Promote Occupant Safety)
        เพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคารและลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยการออกแบบ ทั้งทางด้านความปลอดภัย อาชญากรรม และการติดเชื้อ 
        • การเพิ่มแสงสว่างในจุดสุ่มเสี่ยงเพื่อป้องการการเกิดอาชญากรรม 
        • ออกแบบบันไดให้ปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานด้วยวิธีการต่างๆ 
        • แผนตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (Emergency Procedures) 
        • อบรมให้ความรู้พนักงานให้สามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

3. ลดอัตราการป่วยและขาดงานจากปัญหาสุขภาพ (Reduce Morbidity and Absenteeism)
        fitwel ใช้การออกแบบเพื่อลดปัญหาอาการเจ็บป่วยจากการทำงานในสำนักงาน และการขาดงาน เช่น 
        • เพิ่มการขยับร่างกายด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว 
        • จัดพื้นที่สำหรับออกกำลังกายหรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพ 
        • ออกนโยบายเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ 
        • จัดเตรียมน้ำดื่มสะอาดที่เพียงพอสำหรับทุกคน เป็นต้น
        World economic forum ประเมินว่าทุกปีจะมีความเสียหายทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากความไม่พร้อมด้านสภาพร่างกายและจิตใจของคนทำงานมากถึง หนึ่งล้านล้านเหรียญทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ มาตรการข้างต้นจะช่วยลดอาการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน (Office Syndrome) หรือการขาดงานให้น้อยลงได้

4. เป็นมิตรต่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม (Support Social Equity)
        fitwel สนับสนุนการออกแบบที่คำนึงถึงคนทุกๆ กลุ่ม (Universal Design) เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้แก่ผู้ใช้อาคารทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคนปกติ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือเพิ่งคลอดบุตร หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม (socio-economically disadvantaged persons) เช่น 
        • การจัดเตรียมที่กดน้ำดื่มที่ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้ 
        • จัดเตรียมหัองให้นมบุตรในพื้นที่อาคาร
        โดยอาคารที่ได้การรับรองนอกจากจะสร้างความตระหนักทั้งต่อคนในองค์กรและผู้เกี่ยวข้องถึงการออกแบบดังกล่าว เป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่นได้ดำเนินรอยตามเพื่อความเท่าเทียมต่อผู้ใช้อาคารในทุกกลุ่ม

5. สร้างสุขภาวะที่ดีในพื้นที่ใช้งาน (Instill Feelings of Wellbeing)
        ความเครียดเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน การส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้งานมีพลังในการทำงานมากขึ้น และลดการขาดงานลง ผ่านหลายมาตรการ เช่น 
        • การสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยทั้งการใช้งาน และความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน 
        • ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงพื้นที่ธรรมชาติ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้

6. เสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบ (Impact Surrounding Community Health)
        ในการดำเนินการ fitwel ไม่เพียงแต่ผู้ใช้งานอาคารเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่โครงการสามารถส่งต่อประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชมใกล้เคียง เช่น การมีพื้นที่ที่คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือพื้นที่ขายสินค้าสำหรับเกษตรกรโดยตรงสู่ผู้บริโภค

7. มีทางเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ (Provide Healthy Food Options)
        ปัจจุบันโรคอ้วนคือสาเหตุอันดับหนึ่งที่นำไปสู่สาเหตุของโรคและการเสียชีวิตของคนไทย จากความสะดวกในการเข้าถึงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มีไขมันและน้ำตาลสูง มาตรการเพิ่มตัวเลือกของผักผลไม้ รวมทั้งอาหารที่มีประโยชน์ในราคาที่ถูกกว่า สามารถจูงใจการบริโภค และลดอัตราการเจ็บป่วยของผู้ใช้งานอาคารจากพฤติกรรมเรื่องการรับประทานอาหารได้

มาตรการของ fitwel เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในพื้นที่อาคาร
        • ส่งเสริมการล้างมือเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ
        • มาตรการสนับสนุนการทำความสะอาดพื้นที่สัมผัสสูง
        • เพิ่มอัตราระบายอากาศ
        • กรองอากาศ / มาตรการตรวจวัดคุณภาพอากาศตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO)
        • ควบคุมความชื้นเพื่อลดการเติบโตของเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ