ปรับบ้านร้อนให้เย็น อยู่สบายอย่างยั่งยืนในสไตล์บ้านประหยัดพลังงาน
รอบรู้เรื่องบ้าน

ปรับบ้านร้อนให้เย็น อยู่สบายอย่างยั่งยืนในสไตล์บ้านประหยัดพลังงาน

8.1K

14 พฤษภาคม 2567

เลือกวัสดุก่อสร้างให้บ้านเย็น ประหยัดพลังงาน

เมื่อบ้านเย็น “อยู่สบาย” ผู้อยู่อาศัยสามารถพักผ่อนภายในบ้านโดยไม่ต้องกลัวร้อนอบอ้าว

        เคล็ดลับการปรับเปลี่ยนบ้านร้อนให้กลายเป็นบ้านเย็น ยิ่งขึ้น ผ่านการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม และสร้างกระบวนการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน เพื่อให้บ้านพร้อมรับมือกับสภาพอุณหภูมิเมืองไทยที่ทวีความร้อนขึ้นทุกปี

        วัสดุก่อสร้างเปรียบเสมือนปราการด่านแรกก่อนที่ความร้อนจะเข้าสู่ตัวบ้าน เพราะฉะนั้นเคล็ดลับอันดับแรก คือ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ถูกต้องและเหมาะสมกับอากาศในประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากของการลดอุณหภูมิและทำให้ บ้านเย็นลง 

        โดยสิ่งแรกที่เป็นเกราะชั้นบนสุดของบ้าน คือ หลังคา ซึ่งเมื่อก่อนกระเบื้องหลังคาที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดีจะต้องเป็นกระเบื้องหลังคาสีอ่อนเท่านั้น แต่ในปัจจุบันเจ้าของบ้านที่ชื่นชอบหลังคาเฉดสีเข้ม ก็มีนวัตกรรม กระเบื้องหลังคาเฉดสีเข้มที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ทำให้บ้านเย็นลง ช่วยให้สามารถเลือกใช้กระเบื้องหลังคาสีเข้มได้โดยไม่ต้องกลัวบ้านร้อนอีกต่อไป เนื่องจากมีนวัตกรรมโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษที่ทำให้สามารถสะท้อนความร้อนได้ดีแม้จะเป็นกระเบื้องหลังคาสีเข้มก็ตาม

กระเบื้องหลังคาคอนกรีตบางรุ่น ที่เป็นเฉดสีเข้ม สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้
ภาพ : หลังคาที่สะท้อนความร้อนได้ดี คือกระเบื้องหลังคาสีอ่อน แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ทำให้กระเบื้องหลังคาคอนกรีตบางรุ่น ที่เป็นเฉดสีเข้ม สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ดี

        ลำดับถัดมาจะเป็น ฝ้าเพดาน ควรติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เพื่อให้เป็นเกราะชั้นที่สองที่จะเป็นตัวช่วยป้องกันความร้อนที่หลงเหลือลงมาจากกระเบื้องหลังคา 

บ้านเย็นขึ้นด้วย ฉนวนกันความร้อนที่จะเป็นเกราะชั้นที่สองที่ช่วยป้องกันความร้อนที่หลงเหลือลงมาจากกระเบื้องหลังคา
ภาพ : ฉนวนกันความร้อนที่จะเป็นเกราะชั้นที่สองที่ช่วยป้องกันความร้อนที่หลงเหลือลงมาจากกระเบื้องหลังคา

        นอกจากนี้ ผนัง ก็เป็นอีกส่วนที่สามารถป้องกันความร้อนได้ ทำให้บ้านเย็นเช่นกัน โดยอาจเป็นการซ่อนฉนวนกันความร้อนไว้ในผนัง รวมถึงการเลือกใช้ ไม้ฝาที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสีความร้อนและป้องกันความร้อนได้ 

ไม้ฝา เอสซีจี รุ่น คูลพลัส มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนและป้องกันความร้อนในตัว ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น
ภาพ : ตัวอย่างไม้ฝาที่มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนและป้องกันความร้อนในตัว

        เมื่อเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกของบ้านแล้ว อันดับต่อมาเจ้าของบ้านควรใส่ใจถึง การเปิดเส้นทางหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน เพื่อระบายความร้อน โดยปกติบ้านทุกหลังจะต้องมีหน้าต่างเป็นส่วนประกอบของบ้าน ซึ่งหน้าที่หลักของหน้าต่าง คือ การช่วยระบายอากาศเข้า-ออกเพื่อหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน แต่เมื่อผู้อยู่อาศัยจำเป็นต้องปิดหน้าต่าง หรือ อยู่ในบ้านที่มีหน้าต่างน้อย อาจทำให้อากาศไม่สามารถหมุนเวียน จึงทำให้บ้านร้อนอบอ้าวและรู้สึกไม่สบายตัว

ตัวอย่างทิศทางการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน ด้วย Active AIRflow System ทำให้บ้านเย็น ไม่ร้อนอบอ้าว
ภาพ : ตัวอย่างทิศทางการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน และการระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน

        ฉะนั้นสิ่งแรกที่บ้านควรมี คือ ช่องสำหรับเปิดรับอากาศที่ดีเข้าบ้าน ที่จะช่วยนำอากาศใหม่ๆ เข้าสู่ตัวบ้านได้ตลอดเวลา โดยควรติดตั้งหน้าต่างหรือช่องในด้านทิศใต้ซึ่งจะเป็นทิศที่ลมพัดผ่านทำให้สามารถระบายอากาศได้เกือบตลอดทั้งปี หรือติดตั้งในทิศทางที่มีบริเวณที่ลมเย็นพัดผ่าน เช่น ด้านที่หันเข้าหาสวนบริเวณบ้าน ต้นไม้ หรือแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้อากาศที่ดีและสดชื่นที่สุด 

ช่องสำหรับเปิดรับอากาศที่ดีเข้าบ้าน
ภาพ : ช่องสำหรับเปิดรับอากาศที่ดีเข้าบ้าน

        หากเป็นไปได้ควรติดตั้งบริเวณที่สามารถเปิดไว้ตลอดได้ เพื่อที่เวลาผู้อยู่อาศัยไม่อยู่บ้านแล้วต้องปิดประตูหน้าต่างทั้งหมด หรือ บ้านที่มีประตูหน้าต่างน้อยก็จะทำให้อากาศภายในบ้านสามารถหมุนเวียนระบายความร้อนได้ดี ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป 

ช่องระบายอากาศติดผนัง
ภาพ : ช่องระบายอากาศติดผนัง
ตัวอย่างบ้านที่ติดตั้งระบบระบายอากาศฝ้าเพดาน
ภาพ : ตัวอย่างบ้านที่ติดตั้งระบบระบายอากาศฝ้าเพดาน

        เมื่อนำอากาศใหม่ๆ เข้ามาในบ้านแล้ว การระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน ก็เป็นสิ่งต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะโดยธรรมชาติของอากาศร้อนจะลอยขึ้นสู่ที่สูง ฉะนั้นเมื่อเติมอากาศเย็นเข้ามาในบ้านผ่านทางหน้าต่างหรือช่องลม อากาศร้อนภายในบ้านจะถูกผลักดันให้ลอยไปยังบริเวณฝ้าเพดาน และจะแทรกตัวเข้าตามรอยต่อของฝ้าออกไปยังโถงหลังคา แล้วค่อยๆ ออกไปจากบ้านตามช่อง หรือฝ้าชายคา เพราะฉะนั้นหากติดตั้งช่องระบายอากาศบริเวณฝ้าและหลังคา ก็จะช่วยเร่งกลไกในการระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วกว่า 

การถ่ายเทความร้อนไปยังโถงหลังคาและการระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน
ภาพ : การถ่ายเทความร้อนไปยังโถงหลังคาและการระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน
บ้านที่ติดตั้งระบบระบายความร้อนออกจากโถงหลังคา
ภาพ : บ้านที่ติดตั้งระบบระบายความร้อนออกจากโถงหลังคา
กล่องประมวลผลอัจฉริยะสำหรับควบคุมการทำงานระบบระบายอากาศ และความร้อนภายในบ้าน
ภาพ : กล่องประมวลผลอัจฉริยะสำหรับควบคุมการทำงานระบบระบายอากาศ และความร้อนภายในบ้าน

        เมื่อใช้ทั้งสององค์ประกอบร่วมกันจะทำให้บ้านสามารถหมุนเวียนอากาศได้ตลอดเวลา แม้จะปิดบ้านไว้ทั้งวันตัวบ้านจึงไม่ร้อนอบอ้าวหรืออับชื้น ผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่เพียงเท่านั้นยังช่วยเพิ่มอากาศใหม่ที่บริสุทธิ์สดชื่น ลดกลิ่นเหม็นอับไม่พึงประสงค์ ลดเชื้อโรค และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการภูมิแพ้ที่เกิดจากไรฝุ่นได้อีกด้วย 

เมื่อบ้านเย็น “อยู่สบาย” ผู้อยู่อาศัยสามารถพักผ่อนภายในบ้านโดยไม่ต้องกลัวร้อนอบอ้าว
ภาพ : เมื่อบ้านเย็น “อยู่สบาย” ผู้อยู่อาศัยสามารถพักผ่อนภายในบ้านโดยไม่ต้องกลัวร้อนอบอ้าว

        อย่างไรก็ตามนอกจากให้ความสำคัญกับการปรับลดความร้อนภายในบ้านให้กลายเป็นบ้านเย็นแล้ว เราควรใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ช่วยลดโลกร้อนด้วยการปรับแต่งบ้านให้เป็นบ้านประหยัดพลังงาน โดยการเลือกใช้พลังงานสะอาดจาก โซล่าร์เซลล์ หรือ แผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Panel) ช่วยกันเพิ่มพื้นที่สีเขียวบริเวณรอบๆ บ้านด้วยการปลูกต้นไม้ เพื่อบ้านของเราจะได้น่าอยู่และร่มเย็นอย่างยั่งยืน และประหยัดไฟ"

เลือกใช้พลังงานสะอาดจากแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

เจ้าของบ้านสามารถเลือกใช้พลังงานสะอาดจากแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ปรึกษาฟรี

ชมเรื่องราวผู้ใช้งานจริง SCG Solar Roof


ชมเรื่องราวจากผู้ใช้งานจริง Active AIRflow™ System บ้านเย็นขึ้นแค่ไหนไปดูกัน


เปลี่ยนบ้านร้อน ให้เป็นบ้านอยู่สบาย ด้วยฉนวนกันความร้อน เอสซีจี



แท็กที่เกี่ยวข้อง