รู้หรือไม่?  บล็อกปูพื้น และ กระเบื้องปูพื้น แตกต่างกันอย่างไร
เคล็ดลับน่ารู้

รู้หรือไม่? บล็อกปูพื้น และ กระเบื้องปูพื้น แตกต่างกันอย่างไร

40.7K

21 สิงหาคม 2567

        วัสดุสำหรับปูพื้นตกแต่งสวนภายนอกที่เป็นแผ่นสำเร็จรูปจริงๆ แล้วมีอยู่หลายประเภท ซึ่งวัสดุปูพื้นชนิดสำเร็จรูปที่พบในท้องตลาดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ บล็อกปูพื้น และกระเบื้องปูพื้น  เชื่อว่าหลายๆคนคงมีความสงสัยว่ามันแตกต่างกันอย่างไรเราจะมาทำความรู้จักกับวัสดุทั้ง 2 ชนิด ให้มากขึ้นเพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ 

บล็อกปูพื้นคืออะไร

        “บล็อกปูพื้น”  หรือที่หลายๆคนเรียกกันจนติดปากว่า บล็อกตัวหนอน หรือ อิฐตัวหนอน ผลิตจากคอนกรีต โดยมี หิน ปูน ทราย เป็นองค์ประกอบหลัก  ก้อนบล็อกปูพื้นประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ชั้นตัวก้อนเป็นส่วนล่าง และชั้นผิวหน้าหรือชั้นสี เป็นชั้นส่วนผิวหน้า ตามมาตรฐานของเอสซีจีจะผสมสีในเนื้อคอนกรีตและชั้นผิวหน้ามีความหนาประมาณ 4 มม. จึงทำให้สีมีความคงทน ชั้นผิวหน้ามีความหนาประมาณ 4 มม. ผลิตโดยระบบ Dry Process ด้วยเครื่องจักรกำลังอัดสูง จึงมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้สูง ถึง350 KSC (กิโลกรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร)

        มีขนาดตั้งแต่ 8x8 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่ 40x80 เซนติเมตร ความหนาของบล็อกปูพื้นมีตั้งแต่ 6-12 เซนติเมตร  และมีรูปทรงของตัวก้อนหลากหลายโดยส่วนใหญ่จะใช้เรียงต่อกันจนเกิดเป็น pattern ลวดลายที่สวยงาม และยังมีรุ่นอื่นที่ออกแบบมาให้สามารถปลูกหญ้า หรือ มีคุณสมบัติในการ ลดความร้อน อย่างเช่น รุ่น Cool Plus และน้ำสามารถไหลผ่านได้ระบายน้ำเร็วอย่าง porous block ของ เอสซีจี   

        สีสันและผิวหน้าของบล็อกปูพื้น ผิวหน้าจะมีความละเอียดน้อยกว่ากระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นเนื่องจากกรรมวิธีการผลิตแบบ Dry Process  และส่วนใหญ่ใน 1 ก้อนจะมีสีเดียวทั้งก้อน Single Tone ไม่มีการทำลวดลายจากสี โดย  เอสซีจีได้มีการออกแบบและพัฒนาผิวหน้าของก้อนบล็อกปูพื้น ให้มีความหลากหลาย เช่น ผิวหน้ามีความขรุขระแหมือนผิวหินในรุ่น Rocky Block   หรือมีผิวหน้าโชว์เม็ดหินคล้ายกรวดล้างในรุ่น Sakura block และ Laguna Maldives

สรุปข้อดีและข้อด้อยของบล็อกปูพื้น
ข้อดี
        - แข็งแรงทนทานอายุการใช้งานยาวนาน
        - สามารถรับน้ำหนักได้มาก จึงใช้งานหนักๆอย่าง เช่น ถนนได้ 
        - มีรูปทรงหลากหลายสามารถสร้าง Pattern ลวดลายได้ไม่จำกัด
        - มีบล็อกที่มีคุณสมบัติพิเศษให้เลือกใช้ เช่น ปลูกหญ้าได้ ช่วยลดอุณหภูมิได้
        - สามารถรื้อปรับปรุงซ่อมแซมพื้นทางได้โดยใช้วัสดุก้อนเดิมประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อด้อย
        - มีรอยต่อระหว่างก้อนค่อนข้างมาก
        - วัชพืชมักเกิดขึ้นตามรอยต่อของสินค้า (สามารถป้องกันได้)
        - สีสันเป็นสีเดียวทั้งก้อน

กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นคืออะไร

        กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น  มีการเรียกชื่อหลายอย่างสำหรับวัสดุชนิดนี้ เช่น แผ่นปูพื้น, แผ่นทางเท้า, กระเบื้องปูพื้นภายนอก หรือกระเบื้องแต่งสวนเป็นต้น กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นผลิตจากซีเมนต์เป็นส่วนผสมหลัก ตัวแผ่นกระเบื้องประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ตัวก้อน และชั้นผิวหน้าหรือชั้นสีที่ความหนาประมาณ 5 มม.  จึงทำให้สีมีความคงทน กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น เอสซีจี ผ่านการทดสอบด้วยการรับแรงอัดตามขวาง (Transverse strength) รับแรงดัดได้ประมาณ 3-5 MPa ตามมาตรฐาน มอก. 

        ขนาดของกระเบื้องปูพื้นที่นิยมมากที่สุด คือ ขนาด 40x40 เซนติเมตรและขนาด 30x60 เซนติเมตร  ส่วนขนาดอื่นๆในท้องตลาดมีตั้งแต่ 10x10 , 20x20,30x30 ตลอดจน 60x60เซนติเมตร เป็นต้น  ความหนาของแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น จะบางกว่าบล็อกปูพื้น โดยมีความหนา 3.5-4 เซนติเมตร  ในส่วนของรูปทรงของแผ่นกระเบื้องส่วนใหญ่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากว่าสามารถปูต่อชนกันได้ง่าย ซึ่งในปัจจุบันมีการออกแบบรูปทรงกระเบื้องมาให้เลือกใช้หลากมากขึ้น ทั้งทรงกลม ทรงหกเหลี่ยม หรือรูปทรงเลียนแบบใบไม้ เป็นต้น

        สีสันและผิวหน้าของกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ผิวหน้าแผ่นกระเบื้องจะมีความละเอียดเนื้อเนียนกว่าบล็อกปูพื้น และมีสีสันมีลวดลายที่สวยงาม  เนื่องจากจะมีกระบวนการในการทำสีและลวดลายที่ผิวหน้าเข้ามาเพิ่มเติม  เอสซีจี ได้มีการพัฒนาเรื่องการสร้างสีและลวดลายที่เสมือนจริงบนผิวหน้ากระเบื้อง ด้วยเทคโนโลยี  UVT  Ultimate Virtual Technology  ทำให้กระเบื้องปูพื้นเอสซีจี มีลวยลายสีสันที่สวยงามเสมือนจริง และยังคนทนอีกด้วย  สำหรับการใช้งานกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น สามารถใช้ปูตกแต่งภายนอก ทั้งทางเดินในสวนลานพักผ่อน ตลอดจนถึงงานพื้นที่รับน้ำหนักปานกลางเช่น ลานจอดรถในบ้าน แต่ไม่เหมาะสำหรับการนำไปทำถนนรถวิ่งที่รับน้ำหนักสูง 


สรุปข้อดีและข้อด้อยของกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น
ข้อดี
        - มีสีสันและลวดลายสวยงาม 
        - แผ่นมีขนาดใหญ่ จึงมีรอยต่อน้อย 
        - ปูชนชิดแนบสนิทไม่มีร่องระหว่างก้อน
        - สามารถใช้งานตกแต่งพื้นภายนอกทั้งประเภทตกแต่งสวน พื้นที่รอบๆบ้าน
        - สามารถใช้งานที่รับน้ำหนักปานกลางได้ เช่น พื้นลานจอดรถ (ต้องปูด้วยมอร์ต้าบนพื้นคอนกรีต)
ข้อเสีย
        - รับน้ำหนักได้น้อยกว่าบล็อกปูพื้น
        - ไม่เหมาะกับงานรับน้ำหนักมาก เช่น งานประเภทถนน

        อย่างไรก็ดีวัสดุปูพื้นทั้ง 2 ชนิด ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ควรเลือกวัสดุปูพื้นที่เหมาะสมกับการใช้งานโดยคำนึงถึงองค์ประกอบด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านลักษณะการใช้งาน  ความเหมาะสมในการติดตั้งที่เข้ากับพื้นที่ รูปแบบหรือสไตล์ที่เข้ากับความงามของสถาปัตยกรรมโดยรอบ เป็นต้น  


การติดตั้งบล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

บล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น มีความคล้ายกันตรงที่ผลิตจากคอนกรีตเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่รูปร่าง ขนาด ความหนา ลวดลาย และสีสันที่หลากหลายกว่า โดยบล็อกปูพื้นมักจะมีขนาดใหญ่กว่า มีความหนา และรับน้ำหนักได้มากกว่ากระเบื้องคอนกรีต จึงเหมาะกับการปูพื้นที่ภายนอกที่มีการสัญจรหนัก เช่น ถนน ทางเท้า ลานจอดรถ
ส่วนกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นจะบางกว่า มีลวดลายและสีสันให้เลือกมากกว่า จึงนิยมปูตกแต่งพื้นภายนอกให้สวยงาม เช่น สวน ระเบียง รอบสระว่ายน้ำ โดยทั้งบล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ล้วนเป็นวัสดุปูพื้นที่แข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย ไม่ลื่น ทนความร้อนและแดด จึงสามารถใช้งานภายนอกได้ดีเช่นเดียวกัน เพียงแต่ความชื่นชอบของผู้ใช้งานที่จะเลือกบล็อกปูพื้น หรือกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเป็นหลัก

ขั้นตอนการติดตั้งบล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น

ขั้นตอนการติดตั้งบล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นจะคล้ายกัน โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

สรุปความต่างระหว่างบล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น

บล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ทั้ง 2 อย่างนี้หากมองเผินๆ หลายคนอาจคิดว่าไม่แตกต่างกัน แต่ในแง่ของการใช้งานนั้นถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากต้องการความแข็งแรงทนทานบล็อกปูพื้นจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า หรือถ้าต้องการความสวยงาม กระเบื้องคอนกรีตปูพื้นก็อาจมีทางเลือกที่หลากหลายมากกว่า แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือการติดตั้ง เรียกได้ว่าใช้ขั้นตอนเดียวกันเลยก็ว่าได้ สำหรับใครอยากดูสินค้าจริงของบล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น สามารถเยี่ยมชมสินค้าจริง และขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญฟรี! ได้ที่ SCG Experience และ SCG HOME Solution สาขาใกล้บ้าน หรือโทร.02-586-2222

แท็กที่เกี่ยวข้อง