6.1K
13 พฤษภาคม 2567
เมื่อฤดูร้อนมาถึง แทบทุกบ้านจะต้องประสบปัญหาของอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกๆ ปีที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกไม่สบายตัว ต้องใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศมากขึ้น ส่งผลให้มีค่าไฟฟ้าที่สูง และเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักมากเกินไปทำให้อายุการใช้งานไม่ยืนยาว
การออกแบบบ้านสำหรับเมืองร้อน เช่น การวางทิศทางบ้านตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศพื้นถิ่น การยกใต้ถุนสูง มีหลังคาลาดชัน การใช้วัสดุที่มีค่าการต้านความร้อน มีกันสาดยื่น มีช่องระบายอากาศ มีช่องเปิดสำหรับลมเข้าและออกที่เพียงพอ แม้จะเป็นวิธีป้องกันที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีการวางแผนอย่างครบถ้วนก่อนออกแบบ การแก้ไขปัญหาบ้านร้อนจึงต้องมีการพิจารณาตามลักษณะกายภาพและที่ตั้งของบ้านให้เหมาะสมกับบ้านนั้น ๆ
นอกจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีแล้ว อาจมีสาเหตุมาจากตัวบ้านเองที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าร้อนมากกว่าบ้านคนอื่น ได้แก่
● ผนังบ้านดูดซับความร้อน ผนังบ้านทำจากวัสดุอมความร้อน เช่น อิฐมอญ และผนังบ้านส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนกันความร้อน หรือไม่ได้ทาสีกันความร้อน
● ฝ้าเพดานเตี้ย ความร้อนไม่สามารถลอยตัวขึ้นไปได้ ต้องลอยตัวต่ำอยู่ระดับใกล้กับผู้พักอาศัทำให้รู้สึกร้อนและอบอ้าวมากกว่าบ้านที่มีฝ้าเพดานสูง
● อุปกรณ์กันแดดไม่เพียงพอ เช่น การไม่มีกันสาด ระแนงบังแดด หรือม่านบังแดดบริเวณหน้าต่างที่รับแสงแดดที่เพียงพอ ทำให้ความร้อนเข้าสู่บ้านอย่างเต็มที่
● จัดวางเฟอร์นิเจอร์ขวางทิศทางลม เฟอร์นิเจอร์ที่บังทิศทางลมจะทำให้บ้านอับทึบ มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เก็บกักความร้อน และมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำผลให้บ้านร้อนขึ้นและดูอึดอัด
● พื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ พื้นที่บริเวณรอบๆ บ้าน หรือทิศที่รับแสงแดดมีพื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอที่จะช่วยในการดูดซับความร้อน ลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน สร้างร่มเงา และลดอุณหภูมิโดยรอบ รอบบ้านที่ดูแห้งแล้งไม่มีร่มไม้ จะทำให้รู้สึกร้อนขึ้นอีกด้วย
● หลังคาบ้านไม่กันความร้อนหลังคาบ้านเป็นส่วนที่ได้รับความร้อนโดยตรง หากไม่ได้ใช้วัสดุกันความร้อนที่หลังคาจะทำให้บ้านร้อนได้ง่ายกว่าการป้องกันจากส่วนอื่นๆ
การแก้ไขปัญหาความร้อนในบ้านอาจมีได้หลายรูปแบบ สามารถเลือกปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของบ้านและงบประมาณได้
● ป้องกันแสงและความร้อนด้วยฟิล์มกรองแสง การติดตั้งแผ่นฟิล์มกรองแสงที่กระจกบ้านจะช่วยลดปริมาณแสงและความร้อนที่จะเข้ามาสู่ภายในบ้าน การติดฟิล์มบนหน้าต่างยังเป็นวิธีที่ใช้งบประมาณไม่มากด้วย
● ใช้กระเบื้องหรือหินปูพื้น การเลือกใช้พื้นของบ้านด้วยกระเบื้อง หรือหินอ่อน หินแกรนิต ช่วยกักเก็บความเย็นได้ และยังเป็นวัสดุที่คายความร้อนได้เร็ว การที่มีพื้นบ้านที่เย็นจะช่วยลดอุณหภูมิในบ้านได้มากขึ้น
● ใช้ผนังอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาเป็นวัสดุที่มีค่าต้านทานความร้อนสูง จัดเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าอิฐมอญ สามารถป้องกันความร้อนจากภายนอกและรักษาความเย็นภายในได้ดี จึงสามารถลดภาระของเครื่องปรับอากาศและช่วยประหยัดค่าไฟได้
● ติดตั้งกันสาดและม่านบังแดด กันสาดจะช่วยลดแสงแดดที่เข้าสู่ตัวบ้าน สร้างร่มเงา และเป็นการตกแต่งบ้านด้วย การเลือกกันสาดขึ้นอยู่กับรูปแบบของบ้านภายนอก ขนาดของหน้าต่างหรือประตูที่ต้องการติดตั้งกันสาด ม่านบังแดดที่เลือกใช้ควรเป็นแบบทึบแสงและสามารถกันรังสี UV ได้
● เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดประหยัดพลังงาน การเลือกใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานอย่างหลอดตะเกียบหรือหลอดไฟ LED นอกจากจะมีความประหยัดเนื่องจากมีอายุการใช้งานยาวนาน ยังช่วยลดอุณหภูมิในห้องได้ดีกว่าหลอดไส้ที่มีความร้อนสูงและกินไฟมาก
● เพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบบ้าน การปลูกต้นไม้ด้านรับแสงของบ้านจะช่วยสร้างร่มเงาและบังแสงแดด ทำให้เกิดความร่มรื่น ลดอุณหภูมิโดยรอบ ร่มเงาที่พาดผ่านตัวบ้านก็จะช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านด้วย รวมทั้งใช้พืชคลุมดินมาปลูกแทนการใช้วัสดุปูพื้นเพื่อลดอุณหภูมิบนผิวดินให้เย็นลง มีการเก็บกักความร้อนน้อยลง
● ลดการใช้เครื่องกำเนิดความร้อน ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการระบายความร้อนออกมา เช่น เตาอบ หรือใช้ความร้อนในระดับต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการเปิดห้องเพื่อระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้านและยังช่วยลดค่าไฟด้วย
● ลดความร้อนจากหลังคา หลังคาเป็นองค์ประกอบของบ้านที่ต้องเจอกับแสงแดดเป็นส่วนแรก ดังนั้นการช่วยลดความร้อน หรือสะท้อนความร้อนออกไปจากหลังคาจึงเป็นส่วนสำคัญให้บ้านเย็นขึ้นได้ ซึ่งการลดความร้อนจากหลังคาก็สามารถทำได้หลายวิธี
จะเห็นได้ว่าสาเหตุหลักของบ้านร้อน และวิธีลดความร้อนของบ้านที่สำคัญจะอยู่ที่หลังคาเป็นหลัก เนื่องจากหลังคาเป็นส่วนที่รับแสงแดดโดยตรงอย่างเต็มที่ ตัวอย่างวัสดุกันความร้อนจากหลังคา ได้แก่ แผ่นสะท้อนความร้อน ฉนวนกันความร้อน กระเบื้องระบายอากาศ รวมถึงฝ้าระบายอากาศ
ระบบหลังคากันร้อน เอสซีจี (SCG Heat Protection System) ประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ป้องกันความร้อนครบวงจร ได้แก่ แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี ที่ผลิตจากอลูมิเนียมฟอยล์แท้ 100% ทั้ง 2 ด้าน ที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% หรือแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล อินโนกรีน ที่ทำงานร่วมกับฉนวนกันความร้อนเอสซีจี ทำให้สามารถปกป้องบ้านจากความร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยแผ่นสะท้อนความร้อนจะติดตั้งไว้ใต้กระเบื้องหลังคาบ้านทำหน้าที่สะท้อนรังสีความร้อนออก และหน่วงความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้ช้าลง ซึ่งจะแตกต่างกับฉนวนป้องกันความร้อนที่มีหน้าที่ป้องกันความร้อนบริเวณโถงหลังคา การติดตั้งชุดกระเบื้องระบายอากาศเอสซีจี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนบริเวณโถงหลังคาได้ดีขึ้น รวมทั้งการใช้ฝ้าสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี ที่พาลมเย็นจากภายนอกเข้ามาทางรูระบายอากาศ
ผลิตจากอลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ 2 ด้าน เสริมแรงด้วยใยแก้ว 3 ทาง เพิ่มความแข็งแรงทนทาน ป้องกันแผ่นสะท้อนความร้อนฉีกขาดง่ายระหว่างติดตั้ง สามารถใช้งานได้นานขึ้น เสริมจุดเด่นให้แผ่นสะท้อนความร้อนช่วยชะลอความร้อนให้เข้าสู่ตัวบ้านผ่านทางหลังคาช้าลงด้วยฉนวนเขียวรุ่น Green– 4 Series ทำให้แผ่นสะท้อนความร้อนหนาพิเศษ 1 นิ้ว ช่วยกักหน่วงความร้อนให้เข้าสู่ตัวบ้านได้ช้าลงและสะท้อนรังสีความร้อนได้มากถึง 95% ป้องกันความร้อนได้ถึง 3 เท่า จึงช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้มากถึง 2 องศาเซลเซียส
มีคุณสมบัติไม่ลามไฟโดยได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบการแพร่ของไฟ มีความเหมาะสมที่จะติดตั้งบริเวณเหนือฝ้าเพดานซึ่งมักจะใช้เป็นพื้นที่ซ่อนงานระบบไฟฟ้า ซึ่งอาจเสี่ยงกับการเกิดประกายไฟหรือไฟฟ้าลัดวงจรที่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ได้
ผลิตจากแก้วรีไซเคิล แทนการใช้ทราย 100% ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน โดยได้รับฉลากเขียวจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ SCG GREEN CHOICE นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ IARC ขององค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงมีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ (Low VOCs) และได้รับการรับรองมาตรฐาน EUCEB จากยุโรปอีกด้วย
แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล อินโนกรีนถูกออกแบบให้ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว โดยสามารถวางแผ่นสะท้อนความร้อนได้พอดีกับขนาดช่องแป เพียงติดตั้งตามระยะแปและยึดกระเบื้องหลังคาด้วยตะปูเกลียว ช่วยลดโอกาสที่ความร้อนจะรั่วไหลเข้ามาตามแนวแปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนร่วมกับชุดกระเบื้องระบายอากาศ เอสซีจี หนึ่งในนวัตกรรมระบายความร้อนในโถงหลังคา ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความร้อนสะสมใต้หลังคาที่แผ่สู่ตัวบ้าน ช่วยระบายอากาศโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า ช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี
อีกขั้นของนวัตกรรมเพื่อบ้านเย็น ฉนวนสำหรับฝ้าเพดาน ป้องกันความร้อนจากโถงหลังคา ก่อนเข้าสู่ตัวบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อฉนวนหนาพิเศษ จึงกันความร้อนได้ดีกว่า โดยสามารุถกันความร้อนได้สูงถึง 4-6 เท่า ประมาณ 3-4 อุณภูมิลดลง 1-4 องศาเซลเซียส และสะท้อนความร้อน 95 % ประหยัดไฟ 47 % ลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ จึงช่วยยืดอายุของเครื่องปรับอากาศ ประหยัดพลังงาน ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5 ติดต่อกันยาวนานกว่า 9 ปี และเทคโนโลยีเส้นใยสูตรพิเศษ Fibra-X Technology ทำให้ฉนวนฟูหนาแม้ม้วนเล็กกว่าเดิม
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี เป็นวัสดุไม่ลามไฟโดยผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน ASTME84 และBS476 จึงไม่เป็นชนวนให้เกิดอัคคีภัยปลอดภัยต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
ผลิตจากแก้วรีไซด์เคิล แทนการใช้ทราย 100 % ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน โดยได้รับฉลากเขียวจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ SCG GREEN CHOICE นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ IARC ขององค์การอนามัยโลก ( WHO ) รวมถึงมีสารประกอบอินทรีย์ระเหยต่ำ ( Low VOCs ) และได้รับการารับรองมาตรฐาน EUCEB จากยุโรปอีกด้วย
ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAYCOOL ถูกออกแบบมาให้สะดวกในการติดตั้ง สามารถติดตั้งได้ทั้งบ้านอยู่อาศัยแล้ว และบ้านสร้างใหม่ ทั้งฝ้าทีบาร์ และฝ้าฉาบเรียบ สามารถปูเรียงต่อกันตามแนวฝ้าจนเต็มพื้นที่ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ยึดระหว่างม้วน ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เหนือฝ้าเพดานถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนที่มีประสิทธิภาพ และได้รับความนิยมเพราะสะดวกในการติดตั้ง และยังคุ้มค่าในระยะยาว
รวมถึง ชุดกระเบื้องระบายอากาศ เอสซีจี ช่วยระบายอากาศจากโถงหลังคาด้วยลมธรรมชาติ ลมเย็นจะพัดผ่านปล่องระบายอากาศแล้วนำความร้อนภายในโถงหลังคาออกไป ทำให้อากาศเย็นเข้ามาแทนที่ ซึ่งเป็นการใช้ลมธรรมชาติ ประหยัดพลังงานไฟฟ้า รวมถึงมีอายุการใช้งานยาวนาน ป้องกันสนิม ปลอดภัย ไม่รั่วซึม
สามารถสรุปได้ว่าในการสร้างบ้านควรมีการวางแผนการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งการติดตั้งระบบหลังคากันร้อนเพื่อป้องกันความร้อนจากหลังคาอันเป็นต้นเหตุสำคัญอย่างยั่งยืน ส่วนบ้านเก่าที่มีปัญหาความร้อนก็สามารถติดตั้งเพิ่มได้เช่นกันเพื่อให้สมาชิกในบ้านสามารถอาศัยได้อย่างสุขสบายมากขึ้น
มีแพ็กเกจที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือกอย่างเหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณ ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.scgbuildingmaterials.com/th/product/roof-system-heat#articles