17.8K
13 พฤษภาคม 2567
"บ่อยครั้งที่เจ้าของบ้านหลายท่านเกิดลังเลสงสัยว่า หากจะให้สถาปนิกออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นที่มีลักษณะคล้ายกล่องนั้น ถึงแม้จะได้บ้านสวยถูกใจ แต่จะคุ้มแดดคุ้มฝนได้ดีหรือไม่ จึงขอถือโอกาสมาเล่าเรื่องปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลกับรูปร่างหน้าตาและสไตล์ของบ้าน"
จำนวนชั้น
ชายคาบ้านโดยทั่วไปมักมีระยะยื่นเพียงพอที่จะปกคลุมหน้าต่างชั้นบนสุดเท่านั้น ในขณะที่แดดและฝนยังคงสาดส่องเข้ามายังชั้นล่าง จึงส่งผลให้บ้านร้อนและเกิดการรั่วซึมในระยะยาวได้
ทางแก้ไขคือการทำแผงยื่นเหนือหน้าต่าง อาจเป็นในรูปของกันสาดเบา กันสาดคอนกรีตเสริมเหล็ก ครีบ Fin ต่างๆ เป็นต้น โดยออกแบบให้สวยงามและเข้ากับตัวบ้าน นอกจากนี้อาจใช้วิธีทำระเบียงชั้นบนยื่นออกมา หรือ เลื่อนตำแหน่งผนังชั้นล่างให้หลบลึกเข้าไปในตัวอาคารก็ได้
รูปทรงหลังคา
ในที่นี้หมายถึงโครงสร้างและวัสดุมุงหลังคา โดยทั่วไปบ้านสไตล์โมเดิร์นมักนิยมใช้
หลังคาโมเดิร์น(กระเบื้องโมเดิร์น)แบนเรียบหรือ หลังคารูปทรงกล่อง และหลังคาที่ลาดชันน้อย ทั้งนี้เพราะอาคารหรือบ้านสไตล์โมเดิร์นนั้นมักถ่ายทอดรูปแบบด้วยเส้นตรง ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
การให้น้ำหนักของอาคารที่สื่อความหนัก-เบาของปริมาตร (Mass) รวมถึงวัสดุองค์ประกอบอาคารที่ดูเรียบง่ายตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม แม้หลังคาจะมีอิทธิพลต่อสไตล์บ้าน แต่ก็ไม่ใช่องค์ประกอบทั้งหมดที่จะทำให้บ้านดูเป็นสไตล์โมเดิร์น
การทำหลังคาโมเดิร์น(
กระเบื้องโมเดิร์น)แบบเอียงหรือลาดชัน มักมีเหตุผลคือต้องการให้การระบายน้ำได้สะดวก เช่นเดียวกับการยื่นชายคาที่ต้องการให้ร่มเงาและกันฝนของอาคาร ทั้งนี้ หลังคาทรงปั้นหยา ทรงจั่ว และทรงเพิงหมาแหงน สามารถใช้กับบ้านสไตล์ที่โมเดิร์นได้โดยคงภาพรวมตามแนวความคิดเรียบ ง่าย ตรงไปตรงมา
นอกจากนี้ การมองอาคารในมุมเงยจากใต้ชายคายังช่วยให้ทำให้เห็นว่าหลังคาดูแบนเรียบกว่าความเป็นจริงได้ด้วย
สำหรับหลังคาโมเดิร์น(กระเบื้องโมเดิร์น)แบนราบที่ช่วยให้บ้านโมเดิร์นมีรูปทรงเป็นกล่องนั้น มีทางเลือกในการใช้โครงสร้างและวัสดุมุงอยู่ 2 ประเภท คือหลังคาดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็กและหลังคาแบบซ่อน
หลังคาดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็ก : เป็นการทำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ให้เป็นหลังคาที่สามารถใช้งานเป็นระเบียงขนาดใหญ่หรือดาดฟ้าไปในตัวได้
การคำนวณโครงสร้างจำเป็นต้องรวมเอาน้ำหนักที่เกิดจากการใช้งานในพื้นที่ดาดฟ้าด้วย และเนื่องจากคอนกรีตมีคุณสมบัติส่งผ่านและดูดซับความร้อนได้ดี จึงควรมีระบบป้องกันความร้อน เช่น
ซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนและลดการส่งผ่านความร้อน รวมทั้งการติดตั้งวัสดุที่เพิ่มร่มเงาให้กับพื้นดาดฟ้า เช่น โซล่าร์สแลบ (Solar Slab) เป็นต้น
หลังคาแบบซ่อน : เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับบ้านสไตล์โมเดิร์นที่ไม่ต้องการมีดาดฟ้า โดยสร้างหลังคาพร้อมรางระบายน้ำ (จะเป็นหลังคาทรงใดก็ได้ เช่น หมาแหงน ปั้นหยา มนิลา เป็นต้น) และทำผนังอาคารบดบังหลังคาไว้ เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นเป็นอาคารทรงกล่องเรียบเสมือนไม่มีหลังคา
หลังคาแบบซ่อนจะดูแลรักษาง่ายกว่าหลังคาดาดฟ้ามาก เพราะสามารถตัดปัญหาเรื่องระบบกันซึมดาดฟ้า รวมถึงการแตกร้าวและความร้อนของวัสดุคอนกรีตไปได้ ทั้งยังมีน้ำหนักเบากว่าด้วย ทั้งนี้ ความสูงของผนังปิดหลังคาขึ้นอยู่กับความลาดเอียง และรูปทรงของหลังคาที่เลือกใช้ซึ่งส่งผลกับวัสดุมุงด้วย
การเลือกวัสดุมุงหลังคาให้ดูจากความเหมาะสมของการใช้งาน อาจเป็นได้ตั้งแต่ กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องคอนกรีต ไปจนถึง วัสดุประเภทไวนีล เป็นต้น หรือใช้แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet) กรุหลังคาที่มีความลาดชันน้อย แต่ทั้งนี้ควรมีการป้องกันเรื่องเสียงโดยฉีดพ่นฉนวนใต้วัสดุมุงหรือเลือก ความหนาของฉนวนที่ติดมากับลอนแผ่นสำเร็จ ฉนวนเหล่านี้จะช่วยป้องกันความร้อนควบคู่กันไปได้ด้วย
เรื่องพึงระวังสำหรับหลังคาแบบซ่อน คือ ระบบรางระบายน้ำฝน และรอยต่อในจุดที่วัสดุมุงต่อชนกับผนัง ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบครอบรอยต่อหรือที่เรียกว่า Flashing นอกจากนี้ควรทำช่องทางให้สำหรับปีนขึ้นไปตรวจสอบและทำความสะอาดรางน้ำฝนได้ พร้อมทั้งมีระบบน้ำล้นฉุกเฉินกรณีที่จุดระบายน้ำปกติอุดตัน ไม่ให้ล้นเข้ามาภายในอาคาร หรือบ้าน
แม้รูปแบบของหลังคาจะมีอิทธิพลต่อภาพรวมสำหรับบ้านสไตล์โมเดิร์น แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญอีกมากมาย ทั้งนี้การเลือกปัจจัยต่างๆ โดยทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างเจ้าของบ้านและนักออกแบบ จะช่วยให้รูปแบบบ้านมีความลงตัวตามสไตล์ที่ต้องการ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะเดียวกัน