หลังคารั่ว อาการแบบไหน บ่งบอกว่าหลังคาถึงเวลาเปลี่ยน
รอบรู้เรื่องบ้าน

หลังคารั่ว อาการแบบไหน บ่งบอกว่าหลังคาถึงเวลาเปลี่ยน

12.4K

14 พฤษภาคม 2567

หลังคารั่ว อาการแบบไหน บ่งบอกว่าหลังคาถึงเวลาเปลี่ยน

  

    

        หลังคา นับเป็นส่วนประกอบหลักและสำคัญมากส่วนหนึ่งของบ้าน  ในขณะเดียวกันหลังคาก็เป็นส่วนประกอบในบ้านที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักจะหลงลืมและไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร   เพราะเป็นส่วนที่อยู่ไกลหูไกลตาไม่สามารถตรวจสภาพได้โดยง่าย   จะทราบว่าหลังคามีปัญหาก็ต่อเมื่อหลังคารั่ว   มีน้ำรั่วหยดซึมฝ้าเพดาน  เจ้าของบ้านบางรายถึงแม้จะเห็นอาการเตือนเหล่านี้แล้วก็ตาม  แต่ก็ยังนิ่งนอนใจปล่อยให้หลังคารั่ว น้ำซึมผ่านฝ้าเพดานอาการหนักขึ้นจนฝ้าทะลุ  สร้างปัญหาใหญ่ให้กับบ้านจนแก้ไขยาก   อีกทั้งอาจทำให้เสียค่าซ่อมแซมจากหลักพันพุ่งไปถึงหลักแสนบาทเลยก็เป็นได้

 

หลังคารั่วเกิดจากอะไร

1. กระเบื้องหลังคาแตก เพราะได้รับแรงกระทบกระเทือนจากบางสิ่ง เช่น ลูกเห็บ หรือกิ่งไม้ ทำให้กระเบื้องเกิดรอยแตกร้าว กระทั่งทะลุเป็นรู อาจทำให้น้ำฝนรั่วซึม รวมทั้งฝุ่นผงจากข้างนอกผ่านเข้ามาในบ้านได้
2. ปูนที่ใช้ยึดครอบกระเบื้องแตกหัก หรือซึมน้ำ
3. อุปกรณ์หลังคาเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน หรือโดนสัตว์กัดทำลายเสียหาย เช่น แผ่นปิดรอยต่อ แผ่นกาวติดครอบสันหลังคา อาจทำให้น้ำไหลเข้ามาทางรอยต่อที่ชำรุดได้
4. การติดตั้งผิดวิธี รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผิดมาตรฐานตั้งแต่แรก ย่อมทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้

ภาพ : กระเบื้องหลังคาแตกร้าว

วิธีตรวจเช็คอาการหลังคารั่วด้วยตัวเอง

หลังคารั่วระยะที่  1

        อาการ: สิ่งที่บ่งบอกอาการในระยะนี้ คือเสียง จะ ได้ยินเสียงน้ำไหล หรือเสียงน้ำหยดกระทบกับฝ้าตอนฝนตก และพบคราบน้ำสีน้ำตาลบนฝ้าเล็กน้อย เนื่องจากฝ้าจะดูดซับน้ำที่ไหลซึมลงมา  ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดูดซับนานผ่านฝนมาหลายครั้งถึงจะปรากฏคราบให้เห็น

        แม้จะเห็นคราบเพียงเล็กน้อย แต่สามารถเดาอาการได้ว่าหลังคาจุดนั้นรั่วซึมมาแล้วหลายเดือน แต่ถ้าได้ยินแค่เสียงแต่ไม่มีคราบ แสดงว่าหลังคาเพิ่งรั่ว ควรรีบแก้ไขทันที เพราะหากละเลยจะทำให้ฝ้าเพดานบวม เสียรูปทรงและเกิดการทะลุได้  และเกิดเชื้อราได้

        วิธีการรักษา:  ถ้ารู้ตัวในระยะนี้ถือว่ายังโชคดีที่ทรัพย์สินภายในบ้านไม่เสียหายจากน้ำรั่วซึม ดังนั้นควรรีบติดต่อช่างซ่อมหลังคา ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อสำรวจและแก้ไขเปลี่ยนหลังคาบ้าน ในจุดที่หลังคารั่วซึม โดยอาจมีการเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย จากนั้นใช้สีทาปิดทับบริเวณรอยคราบน้ำก็เป็นอันเสร็จสิ้น

  

  

ภาพ : คราบน้ำที่เกิดบนฝ้าเพดานจากการที่หลังคารั่วซึมระยะเริ่มแรก

หลังคารั่วระยะที่ 2

        อาการ: ระยะนี้สามารถสังเกตเห็นรอยคราบน้ำบนฝ้าเพดานได้ชัดเจน เนื่องจากมีน้ำหยดหรือรั่วซึมลงมาเวลาฝนตกแล้วฝ้าเพดานซับน้ำไม่อยู่  ยิ่งคราบน้ำสีเข้มมากเท่าไรแสดงว่าฝ้าซับน้ำไว้เยอะ เป็นไปได้ว่าฝ้าใกล้ทะลุแล้ว และอาจลุกลามไปยังจุดอื่นๆใกล้เคียง

        บ่งบอกได้ว่าหลังคารั่วซึมมาเป็นปี หากบ้านไหนไม่เห็นคราบน้ำแต่พบว่าเฟอร์นิเจอร์บวม มีกลิ่นอับชื้น และเชื้อราขึ้น เป็นไปได้ว่าหลังคาอาจรั่วซึมในจุดที่ตั้งของเฟอร์นิเจอร์นั้น หรือบางบ้านอาจพบว่าไฟบางดวงเปิดไม่ติด อาจเป็นเพราะมีน้ำไปโดนบริเวณหลอดไฟและเกิดการลัดวงจรทำให้ไฟดับ หากละเลยฝ้าเพดานอาจทะลุและมีน้ำไหลซึมผ่านเข้ามาในบ้าน นอกจากจะต้องเสียเงินซ่อมแซมหลังคาแล้ว ยังต้องเสียเงินค่าซ่อมแซมของใช้ต่างๆ ภายในบ้านอีกด้วย

        วิธีการรักษา: เวลาฝนตกสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้โดยใช้ภาชนะหรือแผ่นยางเพื่อรองรับน้ำ แต่ทั้งนี้ควรรีบแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วน โดยรีบติดต่อช่างซ่อมหลังคาผู้เชี่ยวชาญเพื่อสำรวจและแก้ไขหลังคาจุดที่รั่วซึมทันที และควรเลือกช่างที่มีความสามารถและประสบการณ์  แก้ไขครั้งเดียวอยู่ ถ้าแก้ไขไม่ดีอาจเกิดปัญหารั่วซึมอีกได้

  

ภาพ : คราบน้ำที่เกิดบนฝ้าเพดานเป็นวงกว้างจากการที่หลังคารั่วซึมในระยะที่ 2

หลังคารั่วระยะที่ 3

        อาการ: ระยะนี้ถือว่าสาหัสที่สุด ฝ้าเพดานอาจทะลุจนเป็นโพรง มีรอยคราบน้ำสีน้ำตาลเข้มชัดเจนในหลายจุด และไหลลงมาตามผนัง แสดงถึงปัญหารั่วสะสมมาหลายปี เวลาฝนตกจะเกิดน้ำไหลนองไปทั่วบริเวณบ้าน อาจมีสิ่งสกปรกปนมากับน้ำฝน และมีสัตว์ เช่น หนู งู นก กระรอก แอบอาศัยอยู่บริเวณใต้หลังคา

        วิธีการรักษา: แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการปิดรูที่รั่วไว้ก่อนเมื่อฝนตก โดยใช้ผ้าใบปิดหรือแผ่นยางอุด เตรียมภาชนะรองรับน้ำ และใช้ผ้าซับน้ำที่รั่วซึมลงมา จากนั้นรีบหาช่างมาซ่อมหลังคาและเปลี่ยนฝ้าเพดานโดยด่วน บางกรณีหากเสียหายหนักหลายจุด ต้องเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ชำรุดด้วย หากละเลยทรัพย์สินภายในบ้านจะได้รับความเสียหาย ยิ่งฝนตกหนักอีกน้ำอาจท่วมขังภายในบ้าน พื้นบวมเสียหาย นอกจากจะต้องซ่อมหลังคาแล้วยังต้องรื้อพื้นปูใหม่ทั้งหมด เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมาก  บางกรณีพบหลังคารั่วบนตู้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ ทำให้ตู้เหม็นอับชื้น จนเห็ดราขึ้นตู้ ทำให้ต้องโละตู้ทิ้งและซื้อใหม่ หรือบางบ้านหลังคารั่วเป็นรูและปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น เพราะคิดว่าไม่เป็นปัญหาอะไร กระทั่งพบงูเลื้อยมารูที่รั่ว สร้างความตื่นตระหนกให้ผู้อยู่อาศัยอย่างมาก

  

  

ภาพ : ฝ้าทะลุที่เกิดจากหลังคารั่วซึมมาเป็นระยะเวลานาน

         หลังคารั่วทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายกว่าที่คิด แม้ในระยะแรกเริ่มหลายคนอาจมองว่ายังไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตมากนัก แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้ อาจกลายเป็นปัญหาระยะลุกลาม และอาจสาหัสถึงขั้นระยะสุดท้ายได้ ซึ่งซ่อมแซมได้ยาก อาจต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่และอุปกรณ์อื่นๆ ยกชุด  ยิ่งปล่อยทิ้งไว้นานยิ่งทำให้ฝ้าเพดานบวม และทะลุเป็นรู  อาจส่งผลกระทบถึงผนัง พื้น รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ภายในบ้านได้รับความเสียหาย   เสียค่าใช้จ่ายสูงและยังเสียเวลาอีกด้วย ดังนั้นไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง เมื่อพบปัญหาในระยะแรกเริ่มควรรีบแก้ไขทันที จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาได้มาก

         การเลือกวัสดุ อุปกรณ์และช่างที่จะมาซ่อมแซมหลังคาของบ้านนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ หากเลือกแบบอะไรก็ได้ อาจไม่ได้คุณภาพที่ดี ซ่อมแซมไปก็ไม่หายขาด  อาจต้องเสียเงินและเวลาซ้ำซ้อน หนึ่งในทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหานี้ คือการเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ ที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้อย่าง SCG  ซึ่งมีบริการ  SCG Roof Renovation สำหรับแก้ไขหลังคาบ้านโดยเฉพาะไม่ให้กลับมารั่วซ้ำซาก  รวมถึงบริการเปลี่ยนหลังคาทั้งผืน   โดย SCG จะมีช่างผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจความเสียหายของหลังคาที่หน้างาน   หลังจากนั้นจะประเมินค่าใช้จ่ายให้ลูกค้าอย่างแม่นยำ ช่วยลดปัญหางบบานปลายระหว่างการปรับปรุง   โดยทีมช่างจาก SCG จะวางแผนการทำงานในแต่ละวัน  ส่วนเจ้าของบ้านก็สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้ตามปกติ  รวมถึงในแต่ละวันจะมีการสรุปผลการทำงานอัพเดตให้ทราบความคืบหน้าอีกด้วย  เรียกได้ว่าคุณภาพคุ้มค่า คุ้มราคา  แก้ไขให้หายขาดในครั้งเดียว หมดปัญหาหลังคารั่วซ้ำซาก  ทำให้หลังคาบ้านของคุณกลับมามีสภาพที่ดีพร้อมปกป้องทุกคนในบ้านได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  

ภาพ : ช่างกำลังซ่อมรั่วหลังคา  

  

หากสนใจบริการ  SCG Roof Renovation สามารถติดต่อได้ที่ 02-586-2222   หรือสามารถเข้าขอรับคำปรึกษาได้ที่ SCG Experience  หรือ SCG Home Solution

      

แท็กที่เกี่ยวข้อง