27.4K
11 พฤษภาคม 2567
"ดีที่สุดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาบล็อกคอนกรีตหรือบล็อกปูพื้นยุบ ก็คือ การติดตั้งอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจใช้บล็อกคอนกรีตควรพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ การใช้งานและการติดตั้งที่เหมาะสม"
บล็อกคอนกรีต หรือที่มักเรียกกันว่า บล็อกปูพื้น เป็นอีกวัสดุปูพื้นที่เจ้าของบ้านนิยมเลือกใช้สำหรับพื้นนอกบ้าน ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูแข็งแกร่ง ติดตั้งง่าย มีรูปแบบและสีสันหลากหลาย ทั้งยังสามารถเล่นแพทเทิร์นลวดลายต่างๆ ได้มากมาย แต่พอใช้งานไป บางครั้งพื้นเกิดการทรุดตัวลงทำให้บล็อกยุบตามจนเรียงตัวไม่สม่ำเสมอ ซึ่งดูไม่สวยงามทั้งยังเสี่ยงต่อการสะดุดหกล้มเป็นอันตรายอีกด้วย เจ้าของบ้านจึงต้องหันมาหาสาเหตุและวิธีแก้ไขเพื่อให้พื้นผิวบล็อกกลับมาเรียบสม่ำเสมอดังเดิม
ภาพ: ขั้นตอนการติดตั้งบล็อกคอนกรีตหรือบล็อกปูพื้น
นอกจากนี้ ยังมีอีกแนวทางที่จะช่วยชะลอการทรุดตัวหรือยุบตัวคือ การใช้วัสดุพิเศษ “CPAC FLOW FILL MORTAR” เทบนดินที่บดอัดแน่น แล้วปาดผิวหน้าให้เรียบก่อนเททรายปรับระดับโดยไม่ต้องปูแผ่น Geotextile ด้วยความสามารถในการไหลสูงของวัสดุจึงไม่ต้องบดอัดหรือจี้เขย่า ช่วยเสริมแรงดินของชั้นดินได้ดียิ่งขึ้น มีความสามารถในการรับแรงแบกทานสูงกว่าดินบดอัด
ภาพ: ขั้นตอนการติดตั้งบล็อกคอนกรีตหรือบล็อกปูพื้น โดยใช้ CPAC FLOW FILL MORTAR
สำหรับกรณีที่เกิดปัญหาบล็อกปูพื้นยุบไปแล้ว สามารถแก้ไขได้โดยการรื้อออก แล้วทำการปรับระดับหน้าดินพร้อมบดอัดให้แน่น ก่อนนำบล็อกชุดเดิมมาปูใหม่ตามขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นผิวดินที่รองรับบล็อกปูพื้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นดินอ่อน ดังนั้น ตัวบล็อกซึ่งปูบนพื้นดินโดยตรงเมื่อใช้งานไปนานย่อมมีการยุบตัวได้ โดยเฉพาะกรณีที่มีจุดรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่จอดรถ ตำแหน่งที่สัมผัสล้อรถโดยตรงมักจะยุบตัวง่ายกว่าจุดอื่นจนเกิดเป็นร่องหลุมบนพื้นได้ กรณีนี้เจ้าของบ้านอาจใช้อีกทางเลือกซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่คล้ายกัน นั่นคือการติดตั้งกระเบื้องคอนกรีต โดยจะต้องเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กให้เรียบร้อย และปรับระดับพื้นด้วยปูนทรายก่อนจึงค่อยติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตทับ (แนะนำให้ลงเสาเข็มแบบปูพรมก่อนเทพื้นด้วยเพื่อช่วยชะลอการทรุดตัว)
อย่างไรก็ตาม แม้จะติดตั้งอย่างถูกวิธีแล้ว ก็ยังมีอีกปัจจัยที่ทำให้พื้นยุบอย่างรวดเร็ว นั่นคือ การทรุดตัวตามสภาพของพื้นดิน ซึ่งบางครั้งก็เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางธรณีวิทยาด้วย เช่น พื้นดินที่ถมมาไม่นานพอหรือเคยเป็นบ่อบึงแล้วมาถมภายหลังย่อมยุบตัวง่ายกว่าพื้นดินทั่วไป พื้นที่แถบกรุงเทพและปริมณฑลซึ่งส่วนใหญ่จะมีดินชั้นบนเป็นดินเหนียวอ่อนก็มักยุบตัวลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโพรงใต้ดินกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำใต้ดินก็เป็นอีกสาเหตุให้พื้นยุบและทรุดตัวอย่างรวดเร็วได้ เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้ว การใช้บล็อกปูพื้นก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับพื้นที่มีลักษณะยุบตัวง่ายเพราะสามารถรื้อ ปรับระดับและนำบล็อกชุดเดิมมาปูใหม่ได้ ในทางกลับกัน หากใช้วัสดุปูพื้นอื่นๆ เช่น กระเบื้อง หินล้าง ทรายล้าง ที่ต้องมีการเทพื้นคอนกรีตก่อนติดตั้งนั้น เมื่อพื้นยุบตัวไม่สม่ำเสมอจะเกิดการแตกร้าว การแก้ไขจะต้องทุบรื้อพื้นเดิมทิ้งก่อนเทพื้นคอนกรีตอีกครั้งจึงค่อยติดตั้งวัสดุปิดผิวใหม่ ซึ่งนับว่ายุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
จะเห็นได้ว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะชะลอการยุบของบล็อกฯก็คือ การติดตั้งภายใต้ขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วน และด้วยขั้นตอนติดตั้งที่รวดเร็วทั้งยังสามารถรื้อใหม่ได้นั้น ทำให้บล็อกปูพื้นเหมาะจะเป็นอีกทางเลือกสำหรับงานที่ไม่ต้องการทำพื้นโครงสร้างหล่อคอนกรีต เนื่องจากประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า เช่น พื้นที่ถนนหรือทางเดินขนาดใหญ่ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะทำโครงสร้างรองรับ หรือบริเวณที่พื้นยุบหรือทรุดตัวบ่อย ซึ่งหากหล่อพื้นคอนกรีตอาจแตกหักจนต้องทุบรื้อทิ้งและเทใหม่เป็นประจำ เป็นต้น
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมจาก eitprblog.blogspot.com